สาระน่ารู้

5 วิธีแก้นอนกรน ลดความเสี่ยงโรคร้ายได้อย่างไม่น่าเชื่อ!

blank

[vc_row][vc_column][vc_column_text]blank[/vc_column_text][vc_column_text]“คุณเป็นคนนอนกรนไหม” ไม่มีใครหรอกที่จะยอมรับว่าตัวเองเป็นคนนอนกรนหากไม่ได้ฟังจากปากคนที่นอนอยู่ข้างๆ หรือมีหลักฐานแน่นหนารัดตัว แต่รู้หรือไม่ว่า ยิ่งคุณปฏิเสธอาการนอนกรนมากเท่าไหร่ร่างกายของคุณก็จะเสี่ยงต่อการที่โรคภัยถามหามากเท่านั้น!

เพราะอาการนอนกรนที่เกิดขึ้นนั้นคือ สัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติของพฤติกรรมการนอนและสุขภาพที่เริ่มจะย่ำแย่ เช่น การเผชิญหน้ากับโรคอ้วนทำให้อาจมีเนื้อเยื่อผนังคอที่มากซึ่งทำให้เกิดอาการกรน อาการต่อมทอนซิลโต ผู้ป่วยที่มีอาการลิ้นโต หรือคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจแบบไม่รู้ตัว ฯลฯ[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]blank[/vc_column_text][vc_column_text]โรคร้ายจากอาการการนอนกรนที่คุณอาจไม่เคยรู้

เนื่องจากอาการนอนกรนเริ่มต้นจากความผิดปกติในร่างกายอย่างที่กล่าวไว้ในข้างต้น ย่อมส่งผลเสียให้กับร่างกายได้มากกว่าที่คุณคิด

ไม่ว่าจะเป็นผลเสียเล็กๆ น้อยๆ อย่างอาการอ่อนเพลีย ง่วง รู้สึกไม่สดชื่นจากการที่สะดุ้งตื่นในช่วงกลางดึก เพราะรู้สึกหายใจไม่สะดวก ในบางคนอาจรู้สึกปวดหัว มึนศีรษะมีความรู้สึกเหมือนว่าไม่ได้หลับนอนมาทั้งคืน ทั้งๆ ที่ได้นอนพักผ่อนอย่างเต็มที่ร่วมด้วย

หรือผลเสียขนาดใหญ่ที่ขยายในวงกว้างจากการละเลยไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการรักษานั่นก็คือ การเป็นโรคแทรกซ้อนต่อเนื่องซึ่งมีสาเหตุมาจากสุขภาพการนอนที่ไม่ดี

โดยเฉพาะโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea, OSA) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายจะเกิดภาวะขาดออกซิเจนเป็นช่วงๆ ตลอดการนอนหลับ และเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ ตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคอัมพาต อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ รวมไปถึงอาการป่วยที่เป็นโรคทางใจ เช่น โรคซึมเศร้า ฯลฯ

ซึ่งถ้าหากปล่อยให้อาการกรนนี้หนักข้อขึ้นเรื่อยๆ นอกจากจะส่งผลเสียทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาจากอาการที่สะสมในระยะยาวแล้ว เสียงกรนยังส่งผลต่อความสัมพันธ์กับคนข้างกายที่ต้องนอนฟังเสียงรบกวนในทุกๆ คืนทำให้เกิดความหงุดหงิดและทะเลาะกันได้อีกด้วย[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]รวมวิธีการแก้นอนกรน

ก่อนที่โรคร้ายจะรุมเร้า คุณควรรีบแก้ไขปัญหานอนกรนให้ได้ก่อนจะสาย ด้วย 5 วิธีแก้นอนกรนที่จะช่วยทำให้สุขภาพการนอนของคุณดีขึ้นได้ง่ายๆ ดังนี้

1. ปรับเปลี่ยนท่านอน

ใครจะรู้ล่ะว่าแค่ปรับเปลี่ยนท่านอนจะสามารถช่วยแก้อาการนอนกรนได้โดยไม่ต้องพึ่งการรับประทานยาเข้าช่วย เพราะคนที่มีปัญหาด้านการนอนส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากเรื่องง่ายๆ อย่างการนอนผิดท่า ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว ส่งผลให้เกิดอาการกรน ละเมอ หรือฝันร้ายตามมา

ซึ่งถ้าคุณมีปัญหาด้านการนอนกรนเป็นหลักก็อาจจะลองสำรวจท่าทางการนอนของตนเองดูว่าเป็นท่านอนหงายที่มักจะทำให้โคนลิ้นและเพดานอ่อนปิดกั้นช่องลมหายใจจนทำให้เกิดเสียงกรนหรือไม่

หลังจากนั้นให้ลองเปลี่ยนท่านอนใหม่ โดยท่านอนที่จะช่วยแก้นอนกรนในระยะเบื้องต้นได้ดีที่สุดจะเป็นท่านอนตะแคง พร้อมงอข้อศอกเล็กน้อย เพื่อให้มือข้างหนึ่งยันคางไว้เป็นการปิดปาก

แต่ถ้าใครไม่ถนัดในการนอนตะแคงเลยก็อาจจะใช้เทคนิคเล็กๆ ช่วย ด้วยการใส่ผ้าหรือลูกเทนนิสไว้ในเสื้อนอนด้านหลัง เพื่อเป็นการบังคับให้นอนหลับในท่าตะแคงตลอดเวลา เท่านี้ก็จะช่วยปรับเปลี่ยนจากท่านอนหงายธรรมดาเป็นท่านอนตะแคงที่ช่วยลดอาการกรนและการหยุดหายใจในขณะหลับได้ง่ายๆ แล้วล่ะ[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]2. จัดเตรียมบรรยากาศที่พร้อมสำหรับการนอน

แค่ปรับเปลี่ยนท่านอนอย่างเดียวอาจจะยังไม่พอ วิธีแก้นอนกรนวิธีที่ 2 นี้จะเป็นตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้คุณสบายและหลับได้ลึกมากยิ่งขึ้นด้วยการจัดเตรียมบรรยากาศและสถานที่ให้พร้อมสำหรับการนอนมากที่สุด

เริ่มต้นจากการปรับหมอนหนุนนอนให้เหมาะสม อย่างหมอนของ Acmebell มารองศีรษะให้สูงขึ้นพอประมาณ เพื่อเป็นการช่วยลดอาการบวมของเนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนทำให้หายใจได้สะดวกมากขึ้น และลดอาการปวดเมื่อยต้นคอได้ดี

 

blank

 

รวมถึงการทำความสะอาดเตียงนอน ด้วยการหมั่นซักปลอกหมอน ผ้าห่ม และผ้าปูเตียงอยู่เสมอ เพื่อเป็นการป้องกันไรฝุ่นสะสมที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจจนสุดท้ายกลายเป็นโรคภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการนอนกรนได้ด้วยเช่นกัน[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]3. ดูแลสุขภาพ

blank

 

ลดน้ำหนัก

เมื่อน้ำหนักขึ้นจะทำให้ช่วงคอหนาส่งผลให้ไขมันที่พอกพูนบริเวณช่วงคอ อก รวมไปถึงหน้าท้องเบียดช่องทางการหายใจจนเกิดอาการกรน ดังนั้นการลดน้ำหนักจึงเป็นหนทางที่จำเป็นที่สุดในการแก้ไขอาการดังกล่าว ซึ่งก็ต้องทำควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร การออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพในด้านอื่นๆ ที่ถูกต้องในหัวข้อต่อๆ ไป

ควบคุมการรับประทานอาหารกลางดึก

สำหรับหลักในการรับประทานอาหารที่ถูกต้องของผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรนจะต้องเริ่มจากการหยุดกินในเวลาก่อนนอนประมาณ 3 ชั่วโมง และงดการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อคอหย่อนคล้อยกว่าปกติ และเป็นสาเหตุหนึ่งของการมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกินเกณฑ์มาตรฐานได้อีกด้วย

หมั่นออกกำลังกาย

นอกจากจะเป็นวิธีที่ช่วยลดน้ำหนักและรักษาหุ่นให้สวยเพรียวได้สมใจแล้ว การออกกำลังกายยังสามารถช่วยลดอาการนอนกรนได้เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ดึงรั้งช่องทางเดินหายใจมีความแข็งแรงขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อภายในปากของเราไม่หย่อนลงมาขัดขวางทางเดินหายใจนั่นเอง

งดสูบบุหรี่

เพราะบุหรี่มีสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอดและเป็นสาเหตุให้คัดจมูก รวมถึงอาการหายใจไม่สะดวกได้ ดังนั้นใครที่มีอาการกรนและอยากรักษาให้หายก็ควรที่จะงดการสูบบุหรี่ก่อนเวลานอนให้เป็นนิสัย[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]4. หาเทคโนโลยีช่วยแก้นอนกรน

สำหรับใครที่ใจร้อนอยากจะหาตัวช่วยในการแก้ไขปัญหานอนกรน ในปัจจุบันนี้ก็มีนวัตกรรมต่างๆ ที่ช่วยทำให้อาการนอนกรนทุเลาลงได้จากการปรับสภาพอากาศ ปรับวิธีการหายใจ และบางเครื่องมือยังช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนที่เป็นผลเสียกับร่างกายได้ด้วย

เช่น การเปิดเครื่องช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศเพื่อแก้ปัญหาอากาศแห้งซึ่งเป็นสาเหตุของการตีบแคบลงของทางเดินหายใจ การใช้แผ่นแปะจมูกหรือตัวถ่างจมูกในขณะนอนหลับ จะช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินหายใจในจมูก ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น เป็นต้น[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]5. เข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

แต่ถ้าคุณมีอาการกรนที่อยู่ในขั้นอันตราย เช่น มีอาการหยุดหายใจในขณะที่นอนหลับร่วมด้วย ขอแนะนำให้รีบพบแพทย์โดยด่วน เพื่อขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับสาเหตุของอาการนอนกรนว่าจริงๆ แล้วมีที่มาจากโรคอื่นๆ หรือเป็นเพราะพฤติกรรมที่คุณทำในชีวิตประจำวันกันแน่

blank

 

ซึ่งถ้าหากเกิดจากโรคประจำตัว หรือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการทำงานอย่างโรคในกลุ่มออฟฟิศซินโดรม ก็ควรที่จะรีบรักษาอาการของโรคเหล่านี้ให้หายขาดเสียก่อน เพื่อป้องกันการลุกลามของโรค และเป็นการรักษาอาการนอนกรนได้ในทางอ้อมอีกด้วย[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]


ที่มา : cigna[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]

Back to list

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *