การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอมีความสำคัญต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ชาวอเมริกันหลายล้านคนต้องทนทุกข์ทรมานจากการขาดการนอนหลับ ผลการศึกษาของ The Sleep in America โดย National Sleep Foundation (NSF) พบว่า 75% ของผู้ใหญ่ มีปัญหาในการนอนหลับ การศึกษาพบว่า 60% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีอาการง่วงนอนตอนกลางวันซึ่งรบกวนการทำกิจกรรมต่างๆทำให้ขาดงานหรือทำงานผิดพลาด ถึงแม้ว่าอาจจะมีปัจจัยในด้านการแพทย์มาเกี่ยวข้อง แต่ปัญหาอาจจะเกิดจากที่นอนก็เป็นได้ สัญญาณทั้งเจ็ดนี้ว่าแสดงว่าถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนที่นอนเพื่อดูว่าเตียงส่งผลกระทบต่อการนอนหรือไม่
1. ที่นอนที่มีอายุ 7-10 ปี
- การวิจัยพบว่าที่นอนจะมีอายุการใช้งานประมาณแปดปี แต่จะมีปัจจัยที่แตกต่างกันไปตามผู้ผลิตประเภทที่นอน ไม่ว่าคุณจะนอนคนเดียวหรือนอนกับคนรักและวิธีการนอนของคุณ หากคุณเป็นคนตัวใหญ่ ที่นอนของคุณมีแนวโน้มที่จะเสื่อมสภาพเร็วกว่า
ที่นอนมีอายุการใช้งานและการสึกหรอ ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพของแต่ละแบรนด์ หากที่นอนของคุณเก่านั่นเป็นสัญญาณแรกที่อาจจะต้องใช้ที่นอนใหม่
2. ที่นอนหย่อน หรือ ยุบลง
- หากที่นอนมีรอยบุ๋มนั่นเป็นสัญญาณว่าที่นอนเก่ามากเกินไป การหย่อน หรือเสื่อมสภาพสามารถเกิดขึ้นได้กับวัสดุที่นอนเกือบทุกชนิด (นอกจากเตียงน้ำ) และสามารถสังเกตได้บริเวณใต้พื้นที่นอน หรือ ที่ขอบ หรือทั้งสองอย่าง หากที่นอนของคุณมีสปริงอาจทำให้พังและย้อยได้
วัสดุไฟเบอร์โฟมและปลอกหุ้มหมอนจะเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาและยิ่งที่นอนหย่อนหรือหยุบลงลึกเท่าไหร่คุณก็จะยิ่งรู้สึกไม่สบายตัวมากขึ้นเท่านั้น ที่นอนที่หย่อนอาจรบกวนการนอนหลับและทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้ หากแกนที่นอนเมมโมรี่โฟมของคุณนิ่มลงคุณอาจรู้สึกเหมือนนอน “เปลญวน”
3. กระดูกสันหลังไม่อยู่ในแนวเดียวกันเมื่อคุณนอนหลับ
- ไม่ว่าที่นอนของคุณจะเก่าแค่ไหน (หรือใหม่) หากไม่มีการรองรับและการจัดตำแหน่งที่เหมาะสมในขณะที่นอนหลับ จะเกิดอาการนอนหลับไม่สนิท สำหรับผู้ที่นอนเอนหงายหรือคนท้อง ตามธรรมชาติของกระดูกสันหลังควรอยู่ในแนวระนาบตามสรีระเมื่อคุณนอนบนที่นอน หากแบนหรือสูงเกินไปแสดงว่าที่นอนไม่ได้จัดแนวกระดูกสันหลังของคุณอย่างถูกต้อง
สำหรับผู้นอนตะแคงกระดูกสันหลังของคุณควรตั้งตรงจากคอถึงส่วนล่างหากร่างกายได้รับการรองรับที่เหมาะสม หมอนที่ดีอาจช่วยแก้ปัญหาเล็กน้อยได้ แต่ถ้าสามารถเลื่อนมือเข้าไปในช่องว่างระหว่างลำตัวและที่นอนได้แสดงว่าถึงเวลาเปลี่ยนที่นอน
4. นอนแล้วไม่รู้สึกสบายตัว
- การนอนที่นอนที่สบายตัวเป็นสิ่งที่เราควรมี ถ้าไปนอนที่นอนของโรงแรม หรือบ้านเพื่อน เตียงที่บ้านอาจจะไม่สบายมากพอ เตียงที่ขายอยู่ที่โชว์รูม อาจจะดูสบาย แต่อาจจะไม่ได้สบายจริงเมื่อซื้อมาใช้ ส่วนบนของที่นอนของคุณประกอบด้วย “ชั้นที่นุ่ม” ซึ่งควรรองรับร่างกายของคุณและช่วยลดแรงกด เมื่อชั้นบนเสื่อมสภาพลงเมื่อเวลาผ่านไปส่งผลให้การนอนหลับไม่ดีและปวดเมื่อยตามร่างกาย แต่ในบางกรณีอาจจะเลือกที่นอนผิดตั้งแต่ซื้อ
5. มีอาการปวดเมื่อยหลังตื่นนอน
- การนอนหลับที่ไม่ดีอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรังได้ หากคุณตื่นขึ้นมาตัวแข็งและปวดทุกวัน ที่นอนของคุณอาจเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาได้ หากอาการปวดหลังแย่ลงเมื่อตื่นนอน แต่อาการจะบรรเทาลงเมื่อคุณยืดและขยับไปมา นั่นเป็นสัญญาณว่าที่นอนก่อให้เกิดหรืออาจจะเป็นสาเหตุของอาการปวด
ที่นอนที่หนาแน่นอาจไม่ใช่คำตอบ การศึกษาจากมูลนิธิ Kovacsในมายอร์ก้าพบว่าที่นอนที่มีความแน่นปานกลางให้ความสบายที่ดีกว่าสำหรับอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ทดสอบการนอนของที่นอนประเภทต่างๆก่อนซื้อหากคุณมีอาการปวดขณะนอนหลับหรือตอนตื่น
6. อาการแพ้หรือหอบหืดแย่ลง
- หากไม่ใช่ฤดูที่แพ้อากาศและไม่มีคำอธิบายอื่นสำหรับอาการแพ้หรือหอบหืด ที่นอนของคุณอาจเป็นตัวการ ผู้เชี่ยวชาญด้านไรฝุ่นกล่าวว่าที่นอนของคุณเป็น“ที่ที่เกิดไรฝุ่นโปรตีนในอุจจาระของไรฝุ่นอาจทำให้เกิดอาการแพ้และโรคหอบหืดและฝุ่นที่สะสมในที่นอนของคุณก็เช่นกัน
การดูดฝุ่นและการพลิกที่นอนอาจช่วยลดฝุ่นและไรเพื่อบรรเทาอาการของคุณได้ หากขั้นตอนเหล่านี้ไม่สามารถช่วยได้ที่นอนใหม่อาจเป็นวิธีแก้ปัญหา
7. น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
- สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงอาจเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพของที่นอน การศึกษาของแคนาดาเชื่อมโยงทั้งการนอนหลับที่ไม่เพียงพอและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
ร่างกายที่หนักขึ้นจะทำให้เกิดการสึกหรอของสปริงโฟมกันกระแทกและส่วนประกอบของที่นอนมากขึ้น นอกจากนี้หากนอนคนเดียว แต่ตอนนี้มีคู่นอนแล้ว ที่นอนของคุณอาจไม่มีพื้นผิวการนอนที่เพียงพอหรือรองรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น นั่นหมายความว่าถึงเวลาสำหรับที่นอนใหม่
Post Views: 218